“หวย”
ใครรวย?
มาดูกันซิว่าหวยที่เราซื้อกันทุก ๆ รอบเนี่ย
จริง ๆ แล้วมีใครที่รวยขึ้นจากหวยกันบ้าง?
คุณรวย?
“วันนี้รวยจ้า! เลือกเบอร์ที่ชอบเลยจ้า กี่ใบก็ได้”
(จําลองเหตุการณ์จริงที่แผง)
สรุปนะ ಠ_ಠ
โอกาสถูกรางวัลที่หนึ่ง
จากสลากกินแบ่งรัฐบาล
มีแค่ 0.0001% เท่านั้น
ประมาณสองเท่าของ
โอกาสถูกฟ้าผ่า⛈ในประเทศไทย
แล้วใครรวย?
สลากกินแบ่งราคาคู่ละ 80 บาท (ตามราคาหน้าสลาก)
แบ่งเข้ารัฐ 72.80–74.40 บาท ที่เหลือเป็นของคนขาย

74 บาท
เข้ารัฐ
6 บาท
เข้าใคร?
คนขายรวยแบบไม่ต้องลุ้นค่ะ
เพราะยังไง ๆ กำไรก็เข้ากระเป๋าคนขาย
200,000,000 บาทต่องวด (37 ล้านคู่ต่องวด)
แต่ซื้อหวย = ช่วยคนพิการ นี่นา
หลายคนคิดแบบนี้
แต่ก่อนอื่น มาดูกันชัด ๆ ดีกว่า
ว่าใครเป็นคนขายหวยที่แจกจ่ายกันแต่ละงวดบ้าง
🤔
อันที่จริงแล้ว กลุ่มคนพิการ* ขายล็อตเตอรี่เพียงแค่ ฉบับ คิดเป็น ของล็อตเตอรี่ที่แจกจ่ายให้ผู้ขายทั่วประเทศ
*เลือกเฉพาะที่แสดงแน่ชัดว่าเป็นองค์กรเกี่ยวกับคนพิการ ซึ่งคนทั่วไปก็อาจเป็นคนพิการได้เช่นกัน แต่ในที่นี้ไม่ได้รวมไว้ เพราะข้อมูลไม่เพียงพอ

บริษัทหลายแห่งขายล็อตเตอรี่รวมกัน ฉบับ คิดเป็นมูลค่าถึง บาท

บริษัทที่ได้รับล็อตเตอรี่ไปจำหน่ายมากที่สุด ได้แก่ บริษัท สลากมหาลาภ จำกัด และ บริษัท หยาดน้ำเพชร จำกัด

บุคคลทั่วไปได้ขายล็อตเตอรี่รวมกัน ฉบับ หรือคิดเป็นมูลค่า บาท

หลายรายมีนามสกุลเดียวกัน สิบนามสกุลที่ได้สิทธิขายสูงสุด ได้แก่ อัศววุฒิพงษ์, วัฒนธนาทรัพย์, แซ่โง้ว, แซ่ลิ้ม, นิศามณีวงศ์, สุนทรจินตนา, สิทธิไวทยาภรณ์, ศรีระทุ, แซ่ตั้ง, และต่วนเอี่ยม

ผู้ขายที่ได้รับสิทธิจำหน่ายล็อตเตอรี่สูงสุดคือ มูลนิธิสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ทั้งหมด 9,213,500 ฉบับ คิดเป็น 12.45% ของล็อตเตอรี่ที่แจกจ่ายให้ผู้ขายทุกราย
ผู้ขายหลายรายที่ขายล็อตเตอรี่มากกว่า 10,000 ฉบับ แบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้ 7 กลุ่มดังข้างล่างนี้
 
บทสรุป

Data Visualization ข้างต้นใช้ข้อมูลสลากกินแบ่งรัฐบาลจากปี พ.ศ. 2557 มีจุดที่น่าสนใจคือ สลากกินแบ่งเพียงแค่ 10% จำหน่ายโดยกลุ่มคนพิการ มีบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบุคคลทั่วไปที่ใช้นามสกุลเดียวกันจำนวนมากได้สิทธิในการขายสลากกินแบ่ง ส่วนผู้ขายเจ้าใหญ่ที่สุดคือ มูลนิธิสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเสียเอง มูลนิธินี้ขายสลากมากกว่าที่คนพิการทั้งหมดขายรวมกันเสียอีก


ข้อมูลสลากกินแบ่งจากปี พ.ศ. 2558 ที่ได้มาล่าสุด แสดงว่าการจัดสรรมีการปรับปรุงจากปี พ.ศ. 2557 โดยไม่ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดจัดจำหน่ายสลากแล้ว แม้จะยังมีหลายนามสกุลที่ได้ขายสลากปริมาณมาก นามสกุลที่เคยจัดจำหน่ายสลากก็เปลี่ยนไป ผู้ขายรายใหญ่ที่สุดกลายเป็นสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์ แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมป์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งหมดเป็นการแจกจ่ายสลากผ่านส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเท่านั้น ยังไม่รวมการแจกจ่ายแบบใหม่ผ่านธนาคารกรุงไทยอีก 28.82% ของจำนวนสลากทั้งหมด ที่เราไม่ทราบว่าใครได้สลากไปบ้าง


การตรวจสอบงบการเงินของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลตลอด 20 ปีที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ 2539-2558) มีคนไทยจ่ายเงินซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากบำรุงการกุศลทั้งสิ้น 909,433 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีคนถูกรางวัลนำลอตเตอรี่มาขึ้นเงินกับสำนักงานสลากฯ 552,202 ล้านบาท มีคนถูกรางวัลที่ 1 มาแล้วประมาณ 11,500 คน หรือปีละประมาณ 575 คน ส่วนที่ไม่ถูกรางวัลหรือ “ถูกกิน” 357,229 ล้านบาท


การคำนวณหาจำนวนคนที่ถูกรางวัลที่ 1 คำนวณจากปริมาณสลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากบำรุงการกุศลทั้งหมดที่พิมพ์ออกจำหน่ายในแต่ละงวด และอยู่ภายใต้สมมติฐาน สลากทุกใบมีเลขรางวัลอยู่ 6 หลัก คือ 0-999,999 โอกาสของคนถูกรางวัลที่ 1 มีความน่าจะเป็นเพียง 1 ในล้าน หากซื้อสลากคนละ 1 คู่ ทุก 1 ล้านฉบับคู่ ก็จะมีผู้ถูกรางวัลที่ 1 เพียง 1 คน ยกตัวอย่าง ปี 2558 สำนักงานสลากฯพิมพ์สลากขาย 37 ล้านฉบับคู่ ก็จะมีคนถูกรางวัลที่ 1 ไม่เกิน 37 คน ในรอบ 1 ปี มีการออกรางวัลทั้งหมด 24 ครั้ง หากซื้อสลากคนละ 1 ฉบับคู่ คาดว่าในปีนี้น่าจะมีคนถูกรางวัลที่ 1 ไม่เกิน 888 คน ภายใต้หลักการดังกล่าว นำมาคำนวณย้อนหลังกลับไปอีก 19 ปี รวมแล้วคาดว่าจะมีคนถูกรางวัลที่ 1 ไม่เกิน 11,502 คน หรือเฉลี่ยปีละ 575 คน

อ้างอิง

ข้อมูลที่นำมาใช้ในการจัดทำ Data Visualization ทั้งหมดอ้างอิงจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ได้จากสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ตาม พรบ. ข้อมูลข่าวสาร

อ่านเพิ่มเติมที่ เจาะลึกโควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า

“หวย”
ใครรวย?

“หวย” ใครรวย? คือหนึ่งในผลงานจากโครงการ Data Journalism ที่ตั้งใจจะสร้างต้นแบบการรายงานข่าวเชิงสืบสวนที่เน้นการเจาะ วิเคราะห์ข้อมูล และการเล่าข้อมูล (Data Storytelling) เพื่อให้ผู้รับข่าวสารเข้าใจเนื้อหาข่าว ที่มีความซับซ้อนของข้อมูลได้ง่าย และน่าสนใจมากขึ้น โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง โครงการสร้างชุมชนการใช้ข้อมูล สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า บุญมีแล็บ และ สถาบัน Social Technology ที่ต่อเนื่องจากกิจกรรม Visualize Corruption : Data Journalism Hackathon ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559